วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ขายหญ้าแฝก ต้นละ 50 สตางค์ โทร 084-697-8912 คุณบี

 
จำหน่ายหญ้าแฝก พันธุ์ดีที่สุด แกนแข็งแรง รากหยั่งลึกไว ใบไม่บาดมือ นำมาจักรสานได้ รากหอมนำมาทำน้ำมันหอมระเหยได้

กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่มที่ ได้แก่ พันธุ์สงขลา๓
หญ้าแฝกมีอายุต้นไม่ต่ำกว่า 18 เดือน.
(เป็นผลให้ต้นแฝกของเราที่นำไปปลูกไม่ตายค่ะ เพราะไม่ใช่แขนง แต่เป็นต้นที่มีแกนแล้วค่ะ)




การชำระเงินค่าต้นหญ้าแฝก
ท่านสามารถโอนชำระที่บัญชี
185-2-65192-6
 ธ.กสิกรไทย สาขาปราจีนบุรี
ชื่อ คุณภรรณ วรกิตจานนท์
(ลูกค้าเช็คประวัติได้ค่ะ และยืนยันตัวเองค่ะ)


 

อัพเดทความรู้สำหรับพื้นที่ รังสิต ปทุมธานี และพื้นที่ดินกรด

การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าแฝก 18 แหล่งพันธุ์ แหล่งพันธุ์หญ้าแฝกที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ดินและน้าและปรับปรุงดินสาหรับดินกรดจัด จ. ปทุมธานี ได้แก่ แหล่งพันธุ์พระราชทาน ตรัง 2 ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ และสุราษฎร์ธานี ตามลาดับ

ปัจจุบันการส่งเสริมให้ปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะละลายและการกร่อนดินได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากหน่วยราชการสู่เกษตรกรและประชาชนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการนาหญ้าแฝกไปปลูกในแต่ละพื้นที่นั้น จะต้องพิจารณาถึงแหล่งพันธุ์หญ้าแฝกที่มีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ดินกรดจัดหรือดินที่มี pH ต่ากว่า 4.1 (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545) เช่น ชุดดินรังสิตกรดจัดซึ่งจัดเป็นดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมในการทานาเนื่องจากมีข้อจากัดทางด้านความเป็นกรดรุนแรง บางครั้ง pH ของดินอาจต่าถึง 3 หรือ 3.5 เกษตรกรจึงมักปล่อยดินทิ้งไว้โดยไม่ทาการเพาะปลูก (เสรี, 2536) การศึกษาทดลองครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าแฝก 18 แหล่งพันธุ์ เพื่อคัดเลือกแหล่งพันธุ์หญ้าแฝกที่เหมาะสมสาหรับปลูกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้าในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินกรดจัด จังหวัดปทุมธานี และอาจนาไปปรับใช้กับพื้นที่ดินกรดจัดในบริเวณอื่นๆ ต่อไป


 
 การคำนวนจำนวนการสั่งซื้อหญ้าแฝกคร่าวๆนะค่ะ 

-ปลูกแบบยกร่องตามท้องร่องพื้นที่ ปลูกเป็นแถวคู่ 



การปลูกแบบยกร่องแต่งรอบต้นไม้สวน ใน 1 ไร่ 
จะใช้ต้นหญ้าแฝกประมาณ 3,000 ต้น

  -ปลูกแบบรอบบ่อคันดิน หรือรอบพื้นที่บ้านที่ปลูกเพื่อกั้นดินทรุดตัว









โทรติดต่อได้ที่เบอร์ 084-697-8912 คุณบี















































การจัดส่งทาง ems จะจัดส่งให้ตามอัตราตั้งแต่ 100-5,000 ต้นค่ะ 
การจัดส่งทาง EMS ใช้เวลา 1-2 วันค่ะ 
ส่งได้ทั่วประเทศและต่างประเทศค่ะ
น้ำหนักที่ทางไปรษณีย์ไทยรับฝากส่ง 
สามารถเข้าตรวจสอบค่าจัดส่งตามน้ำหนักได้
จาก เวปไซน์ของทางไปรษณีย์ไทยได้ตามนี้เลยค่ะ
---------------------------------------------------------
อธิบายเรื่องน้ำหนักของต้นแฝกนะค่ะ

น้ำหนักหญ้าแฝก 1 ต้น จะมีน้ำหนักประมาณ 5-10 กรัมตามแต่ขนาดค่ะ


ซึ่งถ้าน้ำหนัก 100 ต้นไม่ถึง 750 กรัม ทางเราจะรักษาผลประโยชน์ให้กับทางลูกค้าด้วยการเพิ่มจำนวนต้นให้ได้น้ำหนัก 750 กรัม เป็นขั้นต่ำ ในจำนวน 100 ต้น นะค่ะ เพื่อท่านจะได้รับต้นแฝกที่ได้มาตราฐานจากทางเราค่ะ

------------------------------------------------------ 

งานแสดงผลงานหญ้าแฝก






























































































---------------------------------------------------------


เคล็ดไม่ลับในการปลูกต้นหญ้าแฝก

เมื่อได้รับต้นหญ้าแฝกแล้วนั้น ให้นำต้นหญ้าแฝกพักตั้งไว้ใต้ต้นไม้ หรือในที่ร่มก่อนนะค่ะ แล้วหาอะไรมาคลุมโคนรากต้นหญ้าแฝกไว้ก่อน รดน้ำให้ต้นหญ้าแฝกฟื้นตัวก่อน สักประมาณ 6-24 ชั่วโมง
หลังจากนั้นในการลงปลูก ให้ใช้เสียม หรือไม้หรือแท่งเหล็ก ขุดให้เป็นหลุมลึกลงไปพองาม ประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณหนึ่งคืบ หลังจากปลูกลงไปแล้ว ควรมีกรรไกรติดไว้ด้วยนะค่ะ ให้ตัดยอดใบลง


ระยะห่างในการปลูกตามการใช้งาน
ถ้าปลูกเพื่อทำคันกั้นน้ำป้องกันดินพังทลาย และต้องการให้ต้นหญ้าแฝกพร้อมเป็นคันกั้นได้ใน 1-2 เดือนเว้นระยะห่าง 5 เซนติเมตร 

ถ้าปลูกเพื่อทำคันกั้นน้ำป้องกันดินพังทลาย และต้องการให้ต้นหญ้าแฝกพร้อมเป็นคันกั้นได้ใน 4-6 เดือนเว้นระยะห่าง 15 เซนติเมตร

ซึ่งจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นหากต้องการกั้นน้ำหรือดินไหล ให้ปลูกถี่ๆ เพื่อที่รากจะลงไปยึดได้ไวและกอของต้นหญ้าแฝกจะเบียดกอกัน กลายเป็นคันกั้นน้ำกันดินแบบธรรมชาติให้กับที่ดินของเราค่ะ 


 ความต้องการปลูกที่พบในกลุ่มลูกค้ามีหลายแบบ จึงจะแนะนำวิธีปลูกว่าเราจะเป็นแบบไหนเวลานำต้นหญ้าแฝกไปปลูกนะค่ะ


การขยายพันธุ์หญ้าแฝกเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบหญ้าแฝก หลังจากที่ได้มีการรวบรวมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ หรือการนำหญ้าแฝกจากต่างประเทศเข้า มาใหม่ แล้วจึงทำการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณหน่อหรือต้นต่อกอให้มากขึ้น (Multiplication) เป็นการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณกล้าหญ้าแฝกตามวิธี การต่าง ๆ มีดังนี้

1. การขยายพันธุ์ลงดิน (Multiplication in cultivated plot)

(1) การขยายพันธุ์ด้วยหน่อในแปลงยกร่อง (Multiplication of tillers in raised bed)
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ จะทำในพื้นที่ที่มีการชลประทานหรือพื้นที่ที่มีการจัดระบบการให้น้ำหญ้าแฝกได้เป็นอย่างดี การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เริ่มจากการขุดกอ หญ้าแฝกที่ได้คัดพันธุ์เอาไว้แล้วนำมาตัดใบให้เหลือความยาว 20 เซนติเมตร และตัดรากให้เหลือยาว 5 เซนติเมตร จากนั้นจึงแยกหน่อและมัด รวมกัน นำไปแช่ในน้ำไว้ 4 วัน จะเกิดรากแตกออกมาใหม่ แล้วจึงนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมดินและยกร่องแล้ว ปลูกในขณะที่ดินยังมีความชุ่มชื้นอยู่ ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร และระยะห่างแปลง 1 เมตร ปลูกเป็นแถวคู่ โดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว 50 เซนติเมตร การปลูกโดยวิธีนี้ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือพื้นที่ขนาด 40 x 40 เมตร จะยกร่องได้ 20 แปลง ใช้หน่อพันธุ์ 160 หน่อต่อแปลง หรือในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้หน่อพันธุ์ทั้งสิ้น 3,200 หน่อ หลังจากปลูกต้องให้น้ำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เมื่อหญ้าแฝกอายุ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 1 ช้อนชา เมื่ออายุ 4 – 5 เดือน จะได้ผลผลิตหน่อหญ้าแฝกกอละ 40 – 50 หน่อ หรือจะได้ผลผลิตทั้งสิ้น 120,000 – 150,000 หน่อ ต่อไร่

(2) การขยายพันธุ์ด้วยหน่อในแปลงขนาดใหญ่ (Multiplication in large – scale field)
วิธีการนี้เป็นการขยายพันธุ์หญ้าแฝกเป็นแปลงขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับเกษตรกรรายใหญ่หรือบริษัทที่ต้องการใช้พันธุ์หญ้าแฝกจำนวนมาก วิธีการนี้เหมาะ สำหรับการขยายพันธุ์ในพื้นที่ที่ไม่มีการชลประทาน ขั้นตอนในการดำเนินการคล้ายคลึงกับการปลูกในแปลงยกร่อง คือ การทำการไถพรวนพื้นที่เป็นอย่างดี แล้ว นำหน่อพันธุ์หญ้าแฝก ซึ่งตัดใบให้เหลือความยาว 20 เซนติเมตร และรากยาว 5 เซนติเมตร ปลูกลงแปลงในขณะที่ดินมีความชุ่มชื้น ควรใช้หน่อพันธุ์หลุมละ 2 – 3 หน่อ โดยใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร และเพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา ควรปลูกเป็นแถวตามระยะปลูกแปลงละ 6 แถว และเว้น สำหรับเป็นทางเดิน 1.00 – 1.50 เมตร สลับกันไป การดูแลรักษาและการใส่ปุ๋ยเช่นเดียวกับการปลูกในแปลงยกร่อง ส่วน ฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูก คือ ฤดูฝน คือ ระยะกลางเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนสิงหาคม การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ เมื่อหญ้าแฝกอายุ 4 – 5 เดือน จะได้ผลผลิตหน่อหญ้าแฝกเฉลี่ยกอละ 50 ต้น

(3) การขยายพันธุ์ด้วยหน่อในพื้นที่นา (Multiplication in paddy field)
กล้าหญ้าแฝกที่มีคุณภาพจะได้จากแปลงขยายพันธุ์ที่มีการปลูกดูแลรักษาเป็น อย่างดีและมีอายุพอเหมาะ เช่น อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป และไม่ควรเกิน 1 ปี ดังนั้น การขยายพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อเพิ่มปริมาณหน่อหรือจำนวนต้นตอกอให้มากขึ้นและทัน ต่อความต้องการในการผลิตหรือปักชำกล้าหญ้าแฝกจึงนับว่าเป็นขั้นตอนที่ สำคัญการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปลูกลงดินในพื้นที่นา จะทำในพื้นที่ที่มีการชลประทานมีการจัดระบบการให้น้ำและระบายน้ำได้เป็น อย่างดี สามารถขยายพันธุ์ หญ้าแฝกได้ตลอดปีหรือเป็นพื้นที่นาดอนอาศัยน้ำฝนสามารถระบายน้ำได้ง่าย

(4) การเตรียมดิน
ไถพรวนดินเหมือนการปลูกพืชหลังนาทั่ว ๆ ไป แบ่งนาเป็นแปลงให้เหมาะกับความต้องการที่จะปลูกหญ้าแฝก ทำการเตรียมหลุมโดยใช้จอบขุดหลุมระยะ ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร ตัวอย่างเช่น เนื้อที่ครึ่งงาน กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร จะได้ 20 แถว ๆ ละ 40 หลุม รวมเป็น 800 หลุม การปลูกถี่เพื่อลดปัญหาการกำจัดวัชพืชให้น้อยลง
(5) การเตรียมหน่อพันธุ์กล้าหญ้าแฝก
โดยทั่ว ๆ ไปจะได้รับกล้าหญ้าแฝกชำถุงพลาสติกขนาดเล็กจากศูนย์ผลิตกล้าหญ้าแฝกหรือ สถานีพัฒนาที่ดิน กรณีไม่มีกล้าหญ้าแฝกชำถุงพลาสติกก็สามารถ ปลูกจากหน่อพันธุ์ได้ โดยขุดกอหญ้าแฝกมาตัดใบให้เหลือความยาวประมาณ 1 คืบ หรือ 20 เซนติเมตร ตัดให้รากสั้น แยกออกเป็นหน่อ หรือต้นตั้งแต่ 1 – 3 หน่อ ลอกกาบแห้งและใบแก่ล้างน้ำและมัดรวมกันเป็นมัด ๆ พักไว้ประมาณ 3 – 4 วัน โดยตั้งมัดหญ้าแฝกในที่ร่มหรือกลางแจ้ง แต่ใช้ใบหญ้าแฝก คลุมรดน้ำให้ชุ่มทุกวันหรือแช่โคนมัดหญ้าแฝกในน้ำเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ หน่อหญ้าแฝกพร้อมที่จะออกรากและเจริญเติบโตเมื่อปลูกลงดิน

(6) การปลูกและดูแลรักษา
หลังจากเตรียมดินและหน่อหญ้าแฝกเป็นอย่างดีแล้ว จึงนำมาปลูกลงในหลุม ซึ่งควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหมักหลุมละ 1 กำมือ หรือพอประมาณ การปลูก ไม่ควรปลูกลึก และดินต้องมีความชุ่มชื้นดี หลังจากปลูก 1 – 2 เดือน ควรทำการกำจัดวัชพืชพรวนดินใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ต้นละ 1 ช้อนชาหรือหว่าน ดูแลให้น้ำ ให้มีความชุ่มชื้น อยู่เสมอแต่ไม่ถึงกับมีน้ำท่วมขัง หญ้าแฝกจะเริ่มแตกกออัตราสูงตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป และใช้เวลาเจริญเติบโตอีกอย่างน้อย ประมาณ 2 เดือนรวมเป็น 4 เดือน ในช่วงนี้ หญ้าแฝกบางพันธุ์ จะออกดอก ควรปล่อยให้ออกตามปกติจนกว่าจะออกดอกเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของกอ จึงจะตัดใบและช่อดอกให้เหลือความสูง 40 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้กอหญ้าแฝกแก่เกินไปและเร่งหน่อใหม่ ให้มีการเจริญเติบโตทันกับหน่อที่เคยออก ดอกไปแล้วหญ้าแฝกที่ปลูกและดูแลรักษาเป็นอย่างดีจะเจริญเติบโต ให้ผลผลิตหน่อหญ้าแฝกกอละประมาณ 40 – 50 หน่อ เมื่อขุดนำมาแยกเป็นหน่อ ที่สมบูรณ์จะได้อย่างน้อยที่สุด 10 – 20 หน่อ ดังนั้นเนื้อที่ครึ่งงานควรจะได้หน่อหญ้าแฝก ที่สมบูรณ์ประมาณ 8,000 – 16,000 หน่อหรือเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10,000 หน่อ หรือ 1 ไร่ ควรจะได้หน่อหญ้าแฝกไม่ต่ำกว่า 80,000 หน่อ
2. การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติก (Multiplication in polybag)

(1) อุปกรณ์และวิธีการ

ก. ถุงพลาสติก
การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและสะดวกต่อการนำไปขยายพันธุ์ต่อ จึงเป็นการขยายพันธุ์ในระดับหน่วยงานสู่หน่วยงานขนาดของถุง พลาสติกที่ใช้
ในการขยายพันธุ์จะมี 2 ขนาด คือ ขนาดถุงใหญ่ และถุงขนาดเล็ก ถุงใหญ่ทั่ว ๆ ไปจะใช้ถุงพลาสติกสีดำพับข้างตั้งแต่กว้าง 4 นิ้ว ยาว 9 นิ้ว ขึ้นไป เมื่อกรอกดินผสมถุงแล้วจะได้เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 – 20 เซนติเมตร ถุงเล็กขนาดกว้าง 2 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว ถึง 2.5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หรือเมื่อ กรอกดินผสมลงถุงแล้วจะมีเส้นผ่าน ศูนย์กลางของถุง 5 – 10 เซนติเมตร การขยายพันธุ์ในถุงใหญ่ก็เพื่อให้ได้ปริมาณต้นมาก และสามารถเก็บไว้ได้เป็น เวลานาน เหมาะสำหรับนำไปขยายพันธุ์ต่ออีกครั้ง ส่วนใหญ่จะนำไปแยกกอเพื่อปลูกขยายพันธุ์ลงดินเป็นแปลงใหญ่ ส่วนถุงเล็กเหมาะสำหรับการนำไปปลูก ลงดินหรือในพื้นที่เป้าหมายเพื่อประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกเป็นแนวรั้วหญ้าแฝกหรือปลูกตามขอบถนน ไหล่ทาง ขอบบ่อ คันนา เพื่อยึดดินให้มีความแข็งแรงในสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้ง ดินเลว ดินเค็ม การปลูกหญ้าแฝกที่ได้จากการขยายพันธุ์ในถุงเล็กจะช่วยให้หญ้าแฝกรอดตายและ ตั้งตัวเร็ว
ข. วัสดุเพาะชำหรือดินปลูก
ดินปลูกควรมีการระบายน้ำดีซึ่งใช้ส่วนผสมระหว่างดินร่วน ทราย และขี่เถ้าแกลบ เป็นสัดส่วน 1:2:1 หรือ ทราย และขี้เถ้าแกลบเป็นสัดส่วน 2:1 ถุงพลาสติก สีดำชนิดพับข้างขนาดใหญ่ กว้าง 5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว เมื่อกรอกส่วนผสมของดินปลูกจะหนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม ส่วนถุงเล็ก ขนาดกว้าง 2.5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว เมื่อกรอกดินผสมจะหนักประมาณ 600 กรัม แรงงานการกรอกดินและวางถุงนั้นสำหรับแรงงานที่มีความชำนาญ 1 คน จะกรอกดินและวาง ถุงขนาดเล็ก (2.5 x 8 นิ้ว) ได้ประมาณ 1,000 – 2,000 ถุง ต่อวัน

ค. ขยายพันธุ์หญ้าแฝกในถุงพลาสติก
การปักชำและดูแลรักษา ควรปักชำหญ้าแฝกลงในถุงขณะที่ดินหรือส่วนผสมของดินเพาะชำ มีความชุ่มชื้นดีและน้ำมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอและอย่างต่อเนื่องไม่ ควรปล่อยให้ดินผสมในถุงแห้งก่อนปักชำ ดังนี้การกรอกส่วนผสมของดินลงถุง และการปักชำหญ้าแฝกควรมีความสัมพันธ์กันให้เสร็จเป็นชุด ๆ หลังจากการ ปักชำควรให้น้ำสม่ำเสมอด้วยระบบพ่นน้ำฝอยหรือสายยางต่อจากก็อกน้ำมีฝักบัวรด หลังจากปักชำครบ 3 สัปดาห์ หรือประมาณ 1 เดือน ควรเปิดข่าย พรางแสงออกเพื่อให้รับแสงแดดเต็มที่หรือขนถุงเพาะชำไม่มากนักในลักษณะค่อย เป็นค่อยไป และเริ่มให้ปุ๋ยและฮอร์โมนเพื่อเร่งหน่อการแตกหน่อและราก เช่น ปุ๋ยสูตร 25 – 5 – 5 อัตรา 4 ช้อนแกง เติมสารฮอร์โมนเร่งรากและจุลธาตุ 20 ซีซี ต่อน้ำ 2 ลิตร หรือ 1 ปี๊บ รดให้ชุ่ม สัปดาห์ต่อไปให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ประเภทที่มีธาตุอาหารรอง Ca Mg S อัตราครึ่งช้อนชาต่อถุงขนาดใหญ่ และอัตรา 100 กรัมต่อ 10 ตารางเมตร สำหรับถุงขนาดเล็ก โดยการ หว่านและรดน้ำให้ชุ่มเสมอ พันธุ์หญ้าแฝกและการเตรียมหน่อหญ้าแฝก ใช้พันธุ์ที่ได้ทำการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์แล้วหรือพันธุ์แนะนำ อายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป เป็นหน่อที่สมบูรณ์เริ่มย่างปล้องเต็มที่ ยังไม่ตั้งท้อง แยกเป็นหน่อเดี่ยว ๆ หากเป็นหน่อที่ย่างปล้องหรือตั้งท้องหรือแทงช่อดอกแล้วควรแยก ให้มีหน่ออ่อนติดมาด้วย 1 – 2 หน่อ ตัดยอดให้สั้นเหลือความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ตัดให้รากสั้นที่สุด ลอกกาบใบที่แก่ออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาด มัดรวมกันเป็นมัด ๆ นำไปแช่น้ำ หรือน้ำยาผสมสารฮอร์โมนเร่งราก ให้ระดับน้ำท่วมสูงโคนต้นประมาณ 5 เซนติเมตร เป็นเวลา 3 – 5 วัน สำหรับการแช่ในน้ำซึ่งมีฮอร์โมนเร่งราก เช่น ฮิวมิคแอซิค ความเข้มข้นประมาณ 100 – 150 ppm จะแช่เพียง 1 วัน แล้วนำขึ้นมาหุ้มหรือวางสุมกันเป็นกอง ใช้ใบหญ้าแฝกคลุมหรือกระดาษ หนังสือพิมพ์หุ้มโคนเป็นมัด ๆ รดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยพลาสติกใสภายใต้ร่มเงาหรือแสงรำไรเป็นเวลา 3 – 5 วัน หญ้าแฝกจะแตกหน่อและรากออกมา จึงคัดเลือกเอาไปชำลงถุงต่อไป

ง. การวางถุงเพาะชำ
ถุงขนาดใหญ่ (5 x 11 นิ้ว) จะวางเป็นแถวคู่ติดกัน ระยะระหว่างคู่แถวประมาณ 1 เมตร เนื้อที่ 1 ไร่ จะวางถุงได้ประมาณ 30,000 ถุง ส่วนถุง ขนาดเล็ก (2.5 x 8 นิ้ว) วางเรียงกัน กว้าง 1 เมตรยาว ตามพื้นที่ทางเดิน 1 เมตร เนื้อที่ 1 ไร่ จะวางถุงได้ประมาณ 125,000 ถุง ถุงเพาะชำทั้งหมดจะวางในที่ร่มที่ม ีข่ายพรางแสงขนาดความเข้มแสง 70 % เว้นแต่บางพื้นที่ซึ่งมีความชื้นสูง เช่น เพาะชำในฤดูฝนหรือมีเครื่องพ่นน้ำฝอย ก็สามารถวางกลางแจ้งได้
จ. การบำรุงรักษา
ข้อควรระวังหากมีการใช้ปุ๋ยยูเรีย ควรให้อัตรา 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ในสัปดาห์แรกที่หญ้าแฝกได้รับแสงแดดเต็มที่เพียงครั้งเดียว การให้ปุ๋ยยูเรียมากเกิน ไปจะทำให้หญ้าแฝกอ่อนแอและเป็นโรคใบขาวซีดหรือโรคหัวหงอกได้ การเตรียมหญ้าแฝกในถุงพลาสติกก่อนย้ายไปปลูก หรือขยายพันธุ์ต่อไปที่เพาะชำในถุง ขนาดใหญ่ (5 x 11 นิ้ว) หลังจากอายุ 2 เดือน เป็นต้นไปจะเริ่มแตกกอใหม่อย่างรวดเร็วมีการให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ อายุ 4 เดือนขึ้นไป ควรตัดใบหญ้าแฝกให้เหลือ 40 เซนติเมตร เพื่อป้องกันหญ้าแฝกไม่ให้แก่เกินไปและป้องกันเพลี้ยแป้งและเพลี้ยเกล็ด ทำลายที่โคนก่อนที่จะแยกหน่อขยายพันธุ์ ต่อไปควรมีการเตือน โดยลดการให้น้ำให้น้อยลง พร้อมทั้งมีการแซะรากบางส่วน เพื่อให้หน่อหญ้าแฝกแข็งแรง หากยังไม่มีการนำไปใช้แยกหน่อขยายพันธุ์ ต่อไป ก็ควรดูแลให้น้ำ ให้ปุ๋ยตามปกติและคอยตัดหญ้าแฝกไม่ให้ออกดอก สำหรับหญ้าแฝกที่เพาะชำในถุงขนาดเล็ก (2.5 x 8 นิ้ว) เมื่อกล้าอายุ 45 วัน ขึ้นไปก็พร้อมที่จะนำ ไปปลูกได้ ซึ่งจะแตกหน่อ 3 – 5 หน่อ รากกระจายทั่วไปในถุงและส่วนหนึ่งจะลงดิน ก่อนจะนำไปปลูกควรมีการกระตุ้นเตือนเช่นเดียวกัน โดยลดการให้น้ำลงเพื่อให้ กล้าหญ้าแฝกแข็งแรง หากปล่อยให้มีอายุมากกว่า 2 เดือนขึ้นไปควรมีการตัดใบเพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งและกระตุ้นเตือนให้หญ้าแฝก พร้อมที่จะนำไปปลูกและทนทานต่อสภาพแวดล้อม ขณะปลูกในพื้นที่เป้าหมายและตั้งตัวเร็วมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงการเพาะชำ กล้าหญ้าแฝกในถุงขนาดเล็ก ไม่ควรทิ้งไว้นานเนื่องจากจะเป็นภาระ ค่าใช้จ่าย เช่น การดูแลให้น้ำ การกำจัดวัชพืช เมื่อถึงกำหนดอายุใช้งานได้เช่น 2 เดือน ก็ควรนำไปปลูกให้หมดเป็นรุ่น ๆ ไป ซึ่งวงจรการผลิตกล้าหญ้าแฝกแต่ละรุ่น จะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 เดือนครึ่ง หากมีการผลิตในพื้นที่เดียวกันอย่างต่อเนื่องจะผลิตได้หลายรุ่น ดังนั้น จึงใช้พื้นที่หรือเรือนเพาะชำหญ้าแฝกไม่มากนัก หรือขึ้นอยู่กับปริมาณความจำเป็นที่จะนำมาปักชำลงในถุง ซึ่งปกติจะมีแม่พันธุ์ปลูกขยายลงดินเป็นแปลง ใหญ่ไว้ให้พร้อม
3. การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อในห้องปฏิบัติ การ เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์พืชที่มีจำนวนน้อยได้ตลอดฤดูกาล เช่น หญ้าแฝก สายพันธุ์ อินเดียใต้ (พระราชทาน) นำเข้าจากเมือง BUNGLALOR ประเทศอินเดีย หรือสายพันธุ์ญี่ปุ่น เข้ามาจาก OHITO FARM เมือง OHOTO จังหวัด SHIZUOKA ประเทศญี่ปุ่น พันธุ์ MOTONTO ประเทศออสเตรเลีย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารวุ้นวิทยาศาสตร์ ที่มีธาตุอาหารพืชครบถ้วน ควบคุม สภาพแวดล้อมแสง และอุณหภูมิ ในการเจริญเติบโต ทำให้ได้ต้นกล้าหญ้าแฝกจำนวนมาก มีขนาดสม่ำเสมอแข็งแรงเหมือนต้นแบบ ต้นกล้าที่มีอายุน้อย ซึ่งอยู่ในระยะที่มีการเจริญเติบโต ทางต้นมีอัตรา การแตกหน่อสูง ซึ่งมีผลดีต่อการปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวอนุรักษ์ที่มีการเจิญเติบโตอย่างรวดเร็ว และสม่ำเสมอ ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหญ้าแฝก มีดังนี้

(1) การเตรียมหน่อหญ้าแฝก
การเตรียมหน่อหญ้าแฝกเป็นขั้นตอนที่สำคัญซึ่งการจะทำงานให้สำเร็จจะต้องมี การเริ่มต้นที่ถูกต้อง หน่อหญ้าแฝกที่สมบูรณ์ถูกต้องตามพันธุ์แข็งแรงไม่ อ่อนแอจากโรค และแมลงเมื่อขยายพันธุ์จะได้กล้าหญ้าแฝกจำนวนมากมายที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ ทุกประการ การเตรียมหน่อหญ้าแฝกที่นำมาเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อให้มีความแข็งแรง เริ่มต้นโดยการนำหน่อหญ้าแฝกที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์จากพันธุ์ต่างประเทศ หรือพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกตามคุณลักษณะ ที่ต้องการมาเลี้ยงในเรือนเพาะชำ โดย ใช้วัสดุเพาะชำที่มีความสะอาด ได้แก่ ขี้เถ้าแกลบ ซึ่งผสมเศษอินทรีย์วัตถุ เช่น ใบไม้ผุหรือเปลือกถั่ว เป็นต้น เพาะเลี้ยงในกระถางดินเผา แล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ (15 – 15 - 15) และยูเรีย เร่งการเจริญเติบโต เพาะเลี้ยงในสภาพที่มีความชื้น แสงแดด ใช้น้ำสะอาดรด ดูแลรักษาจนกระทั่งหญ้าแฝกมีการแตกกอได้ หน่อใหม่ที่แข็งแรง สมบูรณ์พร้อมที่จะใช้เป็นต้นแม่พันธุ์ที่เข้าสู่ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อ เยื่อ

(2) การฟอกฆ่าเชื้อ
หลังจากการเตรียมหน่อหญ้าแฝกจนได้หน่อที่มีคุณภาพตามต้องการทำการตัดใบราก และแยกหน่อ เป็นหน่อเดียวนำมาล้างน้ำสะอาดโดยให้น้ำไหลถ่ายเทลอกกาบใบ ด้านนอก ตัดแต่งใบและโคนหน่อให้สะอาดฆ่าเชื้อที่ผิวกาบใบโดยใช้ฟลอมาลีน ล้างน้ำให้สะอาด

(3) ใช้การปฏิบัติการโดยเทคนิคปลอดเชื้อ
นำเข้าตู้ปลอดเชื้อ ฟอกเชื้อที่ผิวโดยใช้แอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ นาน 3 นาที ลอกกาบใบอีกชั้นหนึ่ง ฟอกฆ่าเชื้อโรคต่อด้วยสารละลายคลอร๊อคซ์ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ ที่เติมสารเปียกใบ 1 มิลลิลิตร ภายใต้การเขย่าขวด นาน 10 นาที เพื่อให้สารละลายสัมผัสกับผิวกาบใบอย่างเต็มที่ลอกกาบใบออก 1 ชั้นฟอกฆ่าเชื้ออีกครั้ง ด้วยสารละลายคลอร๊อคซ์ความเข้มข้น 10 เปอร์เซนต์ ที่เติมสารเปียกใบ 1 มิลลิลิตร นาน 15 นาที ลอกกาบใบอีกชั้นล้าง ด้วยน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว 3 ครั้ง เพื่อล้างสารละลาย คลอร๊อคซ์ ออกให้หมดทำการตัดแต่งชิ้นส่วนให้มีตายอดหรือตาข้างติดอยู่ให้ได้ขนาดยาว 1.5 - 2.5 เซนติเมตร นำมาเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์วิทยาศาตร์ สูตร 1 เพื่อชักนำยอดขึ้นให้มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ วิตามิน น้ำตาล ครบถ้วนตามสูตร อาหารสังเคราะห์วิทยาศาสตร์พื้นฐานของ Murashige และ Smook (MS) 1992 ซึ่งดัดแปลงโดย ดร.กมล พรรณนามวงศ์ และคณะ โดยเติมฮอร์โมน BAP (N – Benzylaminopurine) ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลต่อลิตร เพื่อชักนำให้หน่อ หญ้าแฝกมีการแตกตายอดออกมา

(4) การเลี้ยงดูภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อม
นำหน่อหญ้าแฝกในขวดอาหารสังเคราะห์ มาเลี้ยงในห้องปลอดเชื้อภายใต้สภาพความเข้มของแสง 1,000 – 2,000 ลักซ์ ช่วง 16 ชั่วโมง และมืด 8 ชั่วโมงต้องอุณหภูมิ 27?2 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของหญ้าแฝก จะทำให้เกิดการชักนำให้ตายอดโผล่ขึ้นมา จะใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ ของหน่อซึ่งตายอดจะเจริญยืดยาวออกมาก่อนหลังจากนั้นตาข้างจึงจะงอกขึ้นมา เมื่อตายอดมีการเจริญเติบโตได้ 1 เดือน นำยอดหญ้าแฝกมาย้ายเปลี่ยนสูตรอาหาร ใหม่ เป็นอาหารสูตร 2 ซึ่งสูตรอาหารสูตรพื้นฐาน MS (1992) ดัดแปลงโดย อาทิตย์ ศุขเกษม และคณะ โดยการลดความเข้มข้นของฮอร์โมน BAP เป็น 5 ไมโครกรัมต่อลิตร และเพิ่มฮอร์โมน IBA (3- Indolebutyric acid) ความเข้มข้น 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและการแตกยอดมากขึ้น ยอดใหม่ที่เกิดขึ้น หลังจากเปลี่ยนสูตรอาหารจะมีขนาดเล็กลงอัตราการแตกหน่อสูง ซึ่งถ้าเปลี่ยนอาหารทุก ๆ 3-4 สัปดาห์ ก็จะเพิ่มปริมาณยอดมากมาย ซึ่งขั้นตอนนี้จะยังไม่มีราก มีแต่ยอดขนาดเล็กที่มีการเกิดติดกันเป็นกลุ่ม เมื่อได้ปริมาณยอดตามปริมาณที่ต้องการก็จะนำไปชักนำให้เกิดราก ในอาหารสูตร 3 ซึ่งเป็นอาหารสังเคราะห์วิทยาศาสตร์ พื้นฐาน MS (1992) ที่ไม่เติมฮอร์โมน หรือเติม ฮอร์โมน IAA (3- Indolcacetic acid) ความเข้มข้น 0.5 ไมโครโมลต่อลิตร ยอดหญ้าแฝกจะยืดยาวออกมาภายใน 2-3 สัปดาห์

(5) การย้ายออกปลูกในเรือนเพาะชำ
เมื่อชักนำให้เกิดรากเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ก็ทำการย้ายปลูกได้โดยสังเกตจากกล้าหญ้าแฝกยืดยาวขึ้น และมีรากฝอยมากมาย ทำการย้ายปลูกโดยการนำกล้าออกจาก ขวดล้างวุ้นที่ติดอยู่ในขวดออกให้หมด แช่ยากันรา นำมาปลูกในกระบะพลาสติกที่ใส่ทราย ละเอียด เถ้าแกลบเก่า และขุยมะพร้าวละเอียด ในอัตรา 2:1 โดยปลูกเป็นแถวให้เป็นระเบียบในตะกร้าพลาสติก รดน้ำให้ชุ่มชื้นพอเหมาะ วางในเรือนเพาะชำภายใต้สภาพ พรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ คอยดูแลรักษาให้มีความชุ่มชื้น อยู่เสมอ หลังจากย้ายออกปลูก 2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46 - 0 – 0) อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากย้ายออกปลูก 3 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ (15 – 15 – 15) อัตรา 30 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร หลังจากย้ายปลูก 4 สัปดาห์ สามารถขนย้ายกล้าหญ้าแฝกไปยังแหล่งปลูกและย้ายปลูกในถุงพลาสติก ขนาดเล็กต่อไป เพาะเลี้ยงอีก 4 สัปดาห์ ก็สามารถนำลงปลูกในพื้นที่ได้หรือนำลงปลูกต่อในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ กล้าหญ้าแฝกก็จะสามารถแตกหน่อมากขึ้น มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต้นกล้ามี ความแข็งแรง ใบสีเขียวสด รากมีความแข็งแรงจากการขยายพันธุ์หญ้าแฝกพันธุ์สายญี่ปุ่น จำนวน 60 หน่อ ในระยะ 1 ปี แล้วย้ายปลูกลงในสภาพแวดล้อม ปกติที่สถานีพัฒนาที่ดิน สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอน และสำนักงานพัฒนาที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ สามารถขยายหน่อพันธุ์ได้ถึง 400,000 หน่อ ซึ่งถ้าขยาย พันธุ์ต่อไปจะได้ปริมาณมากมาย ปัจจุบันได้ทำการขยายพันธุ์หญ้าแฝกสายพันธุ์ต่างประเทศคือ พันธุ์ญี่ปุ่น พันธุ์อินเดีย พระราชทาน (D9) และพันธุ์มอนโตออสเตรเลีย

4. การขยายพันธุ์หญ้าแฝกโดยการเพาะชำแขนงหรือตะเกียง (Clump Branch) และท่อนพันธุ์ (Stem-Cutting)
หญ้าแฝกที่ปลูกในแปลงพันธุ์หรือปลูกเป็นแนวรั้วหญ้าแฝกจะมีการดูแลรักษาโดย การตัดใบหรือกอหญ้าแฝกให้เลือกความสูง 40 เซนติเมตร ส่วนที่ตัดออกไปนั้น ในกอหญ้าแฝกหนึ่ง จะมีต้นแก่ที่กำลังออกดอกหรือออกดอกแล้วถูกตัดออกไปด้วย ที่ข้อจะมีแขนงหรือท่อนหน่อหญ้าแฝกเล็ก ๆ งอกออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้น หญ้าแฝก ที่แก่มาก ๆ จะมีแขนงหรือตะเกียงซึ่งงอกรากออกมาด้วยหากเป็นต้นที่ยังไม่แก่มากเมื่อลอก กาบใบออกจะมีหน่อหรือตาอยู่ที่ข้อ (Inernodal buds) ซึ่งจะพบมากที่ข้อของลำต้นหญ้าแฝกหอมหรือหญ้าแฝกลุ่ม แขนงทั้งที่ไม่มีรากและตาที่ข้อสามารถนำไปปักชำได้โดยตัดลำต้นที่ปล้องออก เป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนมี 2 ข้อ หรือ 1 ข้อ กรณีมีแขนงงอกออกมายาวโดยปักชำให้ท่อนพันธุ์เอียง 60 องศา ในเรือนเพาะชำซึ่งมีกระบะเพาะชำ เช่น ขี้เถ้าแกลบ ทราย ขุยมะพร้าว การใช้ท่อนพันธุ์ (nodal stem cutting) ที่กาบใบติดอยู่และใช้มีดกรีดที่กาบให้มีรอยแยก เมื่อนำท่อนพันธุ์ไปปักชำจะได้ผลดีที่สุด โดยรากจะงอกออกมา 76.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปักชำ 8 อาทิตย์ แล้วจะได้ต้นพันธุ์หญ้าแฝกต้นเล็ก ๆ จึงนำไปปักชำในถุงพลาสติกอีกครั้ง การปักชำจากท่อนพันธุ์ที่แก่หน่อจะเจริญเติบโตจากตาที่ข้อของลำต้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และมีการแตกหน่อเป็นหน่อหญ้าแฝกต้นเล็ก ๆ เพิ่มขึ้นอีก 8 - 16 เท่า ภายในระยะเวลา 4 อาทิตย์ การเร่งรากโดยการให้ฮอร์โมน IAA จะช่วยได้ 70 เปอร์เซ็นต์ หน่อหญ้าแฝกต้นเล็ก ๆ จะนำไปปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็กต่อไป
5. การขยายพันธุ์โดยการเพาะชำหน่อหญ้าแฝกแบบแผง (Till propagated in a strip)
การขยายพันธุ์หญ้าแฝกโดยวิธีนี้ เป็นผลมาจากการปรับเทคโนโลยีการปักชำกล้าหญ้าแฝกทีละถุงมาเป็นแถว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นผู้นำไปใช้งาน (End-Usres) ตามแผนปฏิบัติการในหมู่บ้านบริวาร และโครงการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการที่สะดวกต่อการขนส่งไปยังพื้นที่ที่ปลูกประหยัดแรงงาน มีอัตราการ รอดตายสูง เนื่องจากได้ซ่อมตั้งแต่อยู่ในแปลงเพาะชำและไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการฉีกถุง และระบบรากเรียงและยึดตัวดีอยู่แล้วขั้นตอนการขยายพันธุ์หญ้าแฝก ด้วยวิธีนี้มีดังนี้ นำอิฐบล็อคมาเรียงความกว้างประมาณ 1.30 เมตร ความสูงเท่ากับความกว้างของอิฐบล็อค สำหรับความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ ให้เหล็กเส้น หรือไม้รวกวางพาดความ กว้างของอิฐบล็อค เพื่อรับแผ่นพลาสติกที่ปูทับโดยความกว้างระหว่างแถวประมาณ 5-6 เซนติเมตร ทำการปลูกหญ้าแฝกลงในแต่ละ ช่องระยะห่างประมาณ 5-6 เซนติเมตร หลังจากหญ้าแฝกมีอายุได้ประมาณ 60 วัน พบว่ารากหญ้าแฝกประสานกันอย่างแน่นหนาสามารถยก ได้จากบล็อคนำ ไปปลูกลงในพื้นที่ได้ทันที ก่อนที่จะขนย้ายหญ้าแฝก ควรงดให้น้ำประมาณ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อจะทำให้สะดวกในการขนย้าย เพราะจะทำให้หญ้าแฝกมีน้ำหนักลดลง วิธีการนี้ได้นำไปใช้ในประเทศออสเตรเลีย เรียกว่าเทคนิคใหม่ ในการเพาะชำหน่อหญ้าแฝกให้ติดต่อกันโดยมีความยาวแผงละ 1 เมตร เมื่อครบกำหนดแล้วก็ยกไปปลูก ทั้งแผง ไม่ต้องดูแลรักษามากในขั้นตอนการปลูกลงในพื้นที่เป้าหมาย
 ---------------------------------------------------------------------------------------------

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราทุกคนก็รู้และควรจะเข้าใจน่ะค่ะ ว่าดินกับน้ำกับท้องฟ้าและผืนหญ้านั้นเป็นวัฎจักรแรกเริ่มของชีวิตและความอุดมสมบูรณ์บนโลกใบนี้ หากพื้นดินใดไม่มีต้นหญ้าขึ้น พื้นดินนั้นก็เป็นพื้นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นหญ้าจึงเป็นส่ิงยืนยันในความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศพื้นดิน ในพ้นที่นั้นๆได้เป็นอย่างดีค่ะ

    หลายคนคิดว่าไม่เห็นจะเกี่ยว ไม่เห็นจะจำเป็น เทพื้นคอนกรีตซะให้หมดดีกว่า ไม่ต้องให้ฝุ่นฟุ้ง ให้มันเลอะเทอะเป็นขี้เลน ขี้โคลน คุณหลายคนคงเข้าใจแบบที่ดิฉันเคยรู้สึกมาก่อน แต่พอวันหนึ่งความรู้สึกที่แตกต่างก็เกิดขึ้น นั้นคือ เวลาเรายืนเท้าเปล่าบนพื้นปูน กับเวลาเรายืนบนเท้าเปล่าบนพื้นดิน เราจะรับรู้ถึงความแตกต่างได้เป็นอย่างดี นั่นเป็นความจริงค่ะ เพราะ พื้นปูนนั้นเวลาเรายืนเราจะร้อนและรู้สึกเหมือนเราโดนดูดพลังชีวิตไปเลยที เดียว รู้สึกแล้ง รู้สึกไม่สบาย แต่เมื่อเทียบกับการได้ยืนบนพื้นดิน เราจะรู้สึกได้เหมือนกับพื้นดินนั้น เขากำลังมอบพลังชีวิตให้กับเรา เราจะรู้สึกสบาย โดยเฉพาะเมื่อเราได้ยืนบนพื้นดินใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือบนพื้นหญ้าเขียวขจี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความรู้สึกที่ดี ที่ดิฉันรักต่อพื้นดินไม่ใช่พื้นคอนกรีตค่ะ
 
    มาเข้าเรื่องกันดีกว่าว่าทำไม เราถึงต้องปลูกหญ้าแฝกกัน ใช่แล้วค่ะ นี่เป็นหนึ่งในโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพ่อหลวงของปวงชนชาวไทยค่ะ คำสอนของพ่อนั้นลึกซึ้งและเป็อมตะมากค่ะ ในเรื่องของโครงการหญ้าแฝกของท่านนี้ก็เช่นกัน เป็นโครงการที่สรุปจบในทุกปัญหาของดิน และน้ำ เปรียบเหมือนกับสอนให้เรารู้ว่าไม่มีสิ่งใดในโลกดีกับเราเท่ากับน้ำที่สะอาด และอาหารครบห้าหมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะ เพราะนั่นจะทำให้เราไม่ต้องไปแสวงหาบรรดาอาหารเสริมและยารักษาโรคราคาแพง ที่สุดท้ายก็วนไปวนมากับคุณประโยชน์ในอาหารหลักห้าหมู่เช่นเดิมค่ะ
   ในพื้นดินก็เช่นเดียวกัน เราคงไม่จำเป็นต้องไปศึกษาว่าดินสีใดมีธาตุอาหารใดขนาดไหน อัตราส่วนเท่าใด และจะต้องปรุ่งแต่งอย่างไร ทำสิ่งเดียวที่พ่อสอนเป็นการเริ่มที่ดีที่สุดเลยค่ะ นั่นคือ ปลูกหญ้าแฝก ให้กับพื้นดิน ให้หญ้าแฝกเป็นพี่เลี้ยงของดิน แต่ในระยะแรกเราเองก็ต้องดูแลเขาหน่อยนะค่ะ เพราะหญ้าแฝกแม้จะแข็งแรงและอึดขนาดไหน แต่ก็ต้องการความรักความเอาใจใส่เช่นเดียวกับ ต้นไม้อื่นๆเช่นกันค่ะ
   หญ้าแฝกนั้นจะเป็นพี่เลี้ยงที่ดีให้กับพื้นดินของเราได้อย่างไรนั้่น เป็นเรื่องที่ดิฉันจะอธิบายง่ายๆให้เข้าใจเลย เมื่อปลูกหญ้าแฝกลงไป สิ่งแรกที่พี่เลี้ยงดินคนนี้จะทำคือ หยั่งรากลงไปให้ลึก และแตกแขนงต้นออกเป็นกอๆ อย่างเป็นระเบียบ เช่นเดียวกับกอตะไคร้ที่เราๆรู้จักกัน และแน่นอนค่ะ ระวังใบของเขาหน่อยน่ะค่ะ เพราะถ้าเอามือไปรูดจากปลายไปหาโคน พี่เลี้ยงแสนดีจะบาดนิ้วคุณให้ได้เลือดกันเลยทีเดียว แต่ใบของพี่เลี้ยงนี้มีสารอาหารมากมายทีเดียวค่ะ เป็นสารอาหารที่พื้นดินของเราต้องการ และเมื่อเราตัดใบๆ ที่หล่นลงมาเราไม่ต้องเอาไปทิ้งไหนเลยทีเดียวให้ปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้นของ เค้าได้เลย ไม่ต้องกลัวเน่า ไม่ต้องกลัวรก แต่ให้กลัวไฟไหม้ไว้ก็พอนะค่ะ เพราะใบของหญ้าแฝกมีน้ำมันอมอยู่ด้วยค่ะ จะติดไฟได้ง่าย และรุกได้แรงทีเดียวค่ะ ซึ่งถ้าเคยเห็นหญ้าคาไหม้ไฟแล้ว ใบหญ้าแฝกไหม้มันส์กว่าค่ะ หากเอามาตำๆผสมทำเป็นขี้ไต้ได้นิ ท่าทางจะลุกดีนักเลยค่ะ ซึ่งถ้าใครมีสูตรดีๆในการทำขี้ไต้ ก็บอกกันได้นะค่ะ พอดีมีความประสงค์จะทำขาย อิอิ

   มาว่ากันต่อด้วยเรื่องของหญ้าแฝกดีกว่า ลักษณะของรากของหญ้าแฝกที่หยั่งลึกลงไปยังมีความเหนียวแน่น และมีความสามารถพิเศษที่หญ้าชนิดอื่นทำไม่ได้ค่ะ นี่เป็นจุดเด่นที่ไม่เหมือนใครเลยค่ะ นั่นคือคุณสมบัติของรากของหญ้าแฝกนั่น สามารถปรับสมดุลให้กับพื้นดินของเราได้ค่ะ ซึ่งถ้าเทียบเป็นเทคโนโลยี นี่ถือเป็นระดับมันสมองกลเลยค่ะ เพราะรากของเขาจะทำการรักษาดินจากภายในสู่ภายนอก เหมือนกับความสวยที่แท้จริงของหญิงสาวเลยค่ะ ที่ว่าต้องสวยจากภายในก่อน ภายนอกจึงจะสวย ใช่ไหมละ ความสามารถในการปรับสมดุลให้กับพื้นดินนี้ ไม่ได้ทำแค่พื้นผิว แต่ทำลึกลงไปจนสุดปลายรากของหญ้าแฝกเลยค่ะ เริ่มเห็นความอัศจรรย์ของต้นหญ้าแฝกแล้วใช่ไหมละค่ะ และผลพลอยได้จากการที่หญ้าแฝกนี้มีรากที่หยั่งลึกและเนื้อรากของเขายัง ถี่และพันธุ์กันเป็นสายใยตาข่ายอีกด้วยค่ะ ที่ทำให้ หญ้าแฝกนี้ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และยังสามารถนำมาช่วยป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย !
   แต่ไม่ใช่น้ำท่วมขนาดจมทั้งจังหวัดน่ะ แต่เป็นการป้องกันน้ำท่วมระดับพื้นสวนไร่นาค่ะ  วิธีการนั้นไม่ยากค่ะ เพียงแต่ให้นำหญ้าแฝกนั้นมาปลูกดัดแปลงผสมผสานกับคันกั้นน้ำค่ะ โกยดินมาเป็นคันกั้นน้ำค่ะและปลูกหญ้าแฝกให้ถี่เลยโลด เท่านี้คันกั้นน้ำดินที่มีกอหญ้าแฝกอยู่ก็จะ เอาอยู่ ทันทีค่ะ ไม่ต้องกังวลคันจะพังไปเพราะแรงน้ำที่พัดดินทลายค่ะ

   ในการปลูกหญ้าแฝกนั้น ยังสามารถใช้กับความคิดที่ว่า ที่ดินว่างๆไม่ได้ทำอะไร เลยตัดสินใจปลูกต้นยูคา แล้วรอตัดขายต้นยูคา เรื่องนี้พบมากเลยค่ะ ทั้งๆที่คนปลูกก็รู้ค่ะว่า ต้นยูคาพอปลูกไปแล้วจะทำให้พื้นดินตรงนั้น ปลูกอะไรไม่ได้อีก ไม่งอกงาม และอีกอย่างต้นยูคาก็ไม่ค่อยจะช่วยฟอกอกาศให้กับโลกเท่าไหร่ และยังไม่รักษาหน้าดิน อีกซะด้วย แต่ถ้าหากนำต้นหญ้าแฝกไปปลูกแซมในช่องว่างต้นยูคา แทนที่หญ้าคาที่กำลังขึ้นรกไปหมดประจำ และต้องจ้างคนมาตัดมาถางหญ้าอีกนั้น คุณจะรู้เลยว่า พื้นดินที่ปลูกยูคานั้น ยิ่งปลูกยูคาผสมผสานกับหญ้าแฝกไปเท่าไหร่ พื้นดินก็ยังคงความงดงามเช่นเดิมและดีกว่าเดิมจากที่ว่าจะปลูกได้ไม่กี่ ครั้ง สิ่งที่คุณจะได้รับคือ ปลูกยูคาได้ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง
   นั่นก็เพราะ หญ้าแฝกจะคอยปรับรักษาดินให้แข็งแรง จะคอยกักเก็บความชื้นให้พอเหมาะ จะคอยกักเก็บอาหารของดินไว้ให้ดิน และใบของเขาจะคอยเป็นธาตุอาหารและทับถมเป็นวัฎจักรให้กับดิน ให้ดินนั้นแข็งแรง  ไว้จะมาเล่าเทคนิคในการใช้หญ้าแฝก ว่าปลูกผสมแนวไหนที่เราจะได้ประโยชน์จากเขาไม่รู้จักจบจักสิ้น...
   
  อะอะ ไหนๆ ก็สนใจละ ไม่ลองเอาไปปลูกดูซะหน่อยหรอค่ะ ว่าแล้วก็โทรเลย...อิอิ ^^